วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 14:10-17:30 ( อังคาร  บ่าย) กลุ่มเรียน 103
คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อ : นางสาวศิรดา สักบุตร (Sirada Sakbud) รหัสประจำตัว 5511200684

กิจกรรมในวันนี้

รูปแบบการจัดการศึกษา

-  การศึกษาปกติทั่วไป  (Regular  Eduction)
-  การศึกษาพิเศษ  (Special  Education)
-  การศึกษาแบบเรียนรวม  (Integrated  Education  หรือ Mainstreaming )         



ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

-  คือ  การศึกษาสำหรับทุกคน  รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษา
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

-  เด็กที่มีความต้องการสามารถพิเศษทุกคนสามรถเรียนรู่้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้


อาจารย์กำลังบรรยายการเรียนการสอน


ความหมายของการเรียนร่วมแบบพิเศษ

-  คือ  การจัดให้เด็กพิเศษได้เข้าไปอยู่ในระบบการศึกษาทั่วไป  มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษได้ทำร่วมกับเด็กทั่วไป  หรือใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวัน  หรือครูปฐมวัยหรือครูการศึกษาพิเศษร่วมมือ

การเรียนร่วมแบบแบ่งเวลา

-  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา
-  เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก  และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-  เป็นเด็กพิเศษที่มีคความพิการระดับปานกลาง  ถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนรวมตามเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา

-  การจัดให้เด็กปกติเรียนในโรงเรียนตลอดจนเวลที่เด็กเรียน
-  เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้  และบริหารนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-  มีเป้าหมายให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน
-  เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลาย  มนุษย์เราต้องการความรักความเอาใจใส่

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

-   เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน  รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้าการศึกษา  และจัดให้เด็กมีความต้องการพิเศษของแต่ละบุคคล

Wilson,2007

-  การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน  การสอนที่ดีเป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน  กิจกรรมทุกอย่างจะนำไปสู่การสอนที่ดี  และยังเป็นการกำหนดทางเลือกที่หลากหลาย

"Inclusive  Education  is  Education  for  all,

It  involves  receiving  people  at  the beginning  of  their  education,with  provision  of  additional  services  need  by  each  individual"

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

-  เป็นการจัดการศึกษาที่ให้เด็กเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ  ตั้งแต่เริ่มการศึกษาและจัดให้มีตามความต้องการพิเศษของแต่ละบุคคลเด็กพิเศษทุกคนสามรถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม  เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก  เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับไว้ และดำเนินการเรียนในลักษณะรวมกัน

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมของเด็กปฐมวัย

-  เด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้  และสอนได้  เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีความจำกัดน้อยที่สุด



บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย

-  การวินิจฉัย  หมายถึง   กาาตัดสินใจในการตัดสินใจ  หรือในการดูอาการบางอย่าง  จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

-  จะเกิดผลเสียมากว่าผลดี
-  ชื่อจะเปรียบเสมือนตราประทับตราติดตัวเด็กตลอดไป
-  เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ อย่างครูเรียกฉายาเด็กยังไงเด็กก็จะจำแล้วเป็นอย่างที่ครูเรียก

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีความผิดปกติอย่างไร

-  พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักจะทราบ  หรือรู้ปัญหาของลูกเขาอยู่แล้ว
-  พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำถึงอาการของเด็ก
-  ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นแง้วบ  และเป็นความคาดหวัง
-  ครูควรรรายงานบอกผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง  เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
-  ครูช่วยให้ผู้ปกครอมีความหวัง

ครูทำอะไรบ้าง

-  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กว่าเด็กมีการพัฒนาการต่างๆ
-  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรพิเศษ  ที่เหมาะสมใการประเมินวินิจฉัย
-  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
   ไม่มีใครสังเกตได้ดีไปกว่าครู
   ครูจะเห็นเด็กในช่วงสถานการณ์ต่างๆ  เป็นเวลายาวนานกว่า
-  ครูต้องจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

การตรวจสอบ

-  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กได้ดีขึ้น
-  บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ

-  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและการตัดสินใจล่วงหน้า
-  ประเมินในน้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆ
-  พฤติกรรมของเด็กบางอย่างไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป





แบบการสอนของครู








การบันทึกการสังเกต

-  การนับอย่าง่ายๆ
   นับจำนวนครั้งของพฤติกรรม
   กี่ครั้งในแต่ละวัน  กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
   ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

-  การบันทึกที่ต่อเนื่อง
   ให้รายละเอียดได้มากขึ้น
   เขียนทุกอย่าง  หรือกิจกรรมที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง
   โดยครูไม่้ต้องเข้าไปแนะนำ  หรือช่วยเหลือ 

-  การบันทึกที่ไม่ต่อเนื่อง
    บันทึกลงบัตรเล็กๆ
    เป็นการบันทึกสั้นๆของพฤติกรรมเด็กในแต่ละวัน
ตัวอย่างกิจกรรม  การบันทึกเป็นคำๆ
ตัวอย่างกิจกรรม  การบันทึกเป็นคำๆ
ตัวอย่าง  การบันทึกกิจกรรมในช่วงเวลากลางแจ้ง
ตัวอย่างการบันทึกกิจกรรมในช่วงเวลาเสรี
      


การตัดสินใจ

-  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางในความสามรถของเด็กหรือไม่


กิจกรรมวาดดอกชบา



ผลงาน  จากการสเก็ตภาพ  ดอกชบา

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม


  



การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

-  ใช้ในการนำไปสังเกตพฤติกรรมเด็กเด็กพิเศษ  เราได้รู้และเข้าใจถึงเด็กพิเศษและการเรียนรวมมากขึ้น  ก็สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปใช้ในการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้จริง
   

การประเมินตนเอง

-  มาเรียน  เข้าเรียนทันเวลา  ช่วยเพื่อนๆจัดเก้าอี้ก่อนทำกิจกรรมเป็นรูปตัวยู ตั้งใจวาดรูปดอกชบาที่อาจารย์ให้วาดตาม  แต่อาจจะมีคุยบ้างเป็นระยะๆ

การประเมินเพื่อน

-  เพื่อนๆ  มาเรียนกันทันเวลา  และมีความสนใจในเนื้อหาการเรียนมีการคุยบ้างเป็นระยะๆ

การประเมินอาจารย์

-  อาจารย์มีการเตรียมเนื้อหาการเรียนการสอนในรูปแบบของพาวเว่อร์พอยมาสอน  และมาสอนตรงเวลาอาจารย์น่ารักมารอนักศึกษา




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น