วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 14:10-17:30 ( อังคาร  บ่าย) กลุ่มเรียน 103
คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อ : นางสาวศิรดา สักบุตร (Sirada Sakbud) รหัสประจำตัว 5511200684


กิจกรรมก่อนการนำเข้าสู่บทเรียนในชั้นเรียน

"กิจกรรมรถไฟเหาะ"























การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ

***ทักษะทางสังคม
      เด็กพิเศษที่เกิดจากทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
      การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี  ไม่ได้เป็นเครื่องหมายรับประกัน  ว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

***กิจกรรมการเล่น
      การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทางสังคม
      เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
      ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่เด็กน่าสัมผัสผลักดึง

***ยุทธศาสตร์การสอน
      เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้วิธีการเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
      ครูเริ่มสังเกตเด็ดแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
      จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
      ครูจดบันทึก
      ทำแผน IEP




***การกระตุ้นและการเรียนแบบและการเอาอย่าง
      วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
      คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
      ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2 - 4  คน
      เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน  "ครู"  ให้เด็กพิเศษ




***ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
      อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
      ยิ้มและพยักหน้าให้ถ้าเด็กหันมาถามครู
      ไม่ชมเชย  หรือสนใจเด็กมากเกินไป
      เอาวัสดุอุปกรณืเพื่อยืดเวลาการเล่น  
      ให้ความคิดเห็นเป็นแรงเสริม

***การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
      ครูพูดชักชวนให้เด็กเริ่มเล่นกับเพื่อน
      ทำโดย  "การพูดนำของครู"

***ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
      ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
      การให้โอกาสเด็ก
      เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆ  เหมือนเด็กที่อยู่ในห้อง
      ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องเพื่อเป็นเครื่องต่อรอง
     


เพลง  ดวงอาทิตย์

ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง  ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่งหล้า  บ่งเวลาว่า
กลางวัน



เพลง  ดวงจันทร์

ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน



เพลง  ดอกมะลิ

ดอกมะลิกลีบขาว  พราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ  อบขนมหอมชื่นใจ



เพลง  กุหลาบ

กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน




เพลง  นกเขาขัน

ฟังสิฟังนกเขามันขยันขันคู่
ฟังสิฟังนกเขามันขยันขันคู
จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู


เพลง  รำวงดอกมะลิ

รำวง   รำวง  ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย



ผู้แต่ง  อาจารย์นวลศรี  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน



การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียน  และทำกิจกรรมกลุ่มกันอย่างเพลิดเพลิน

การประเมินตนเอง

แต่งกายผิดระเบียบ  ใส่รองเท้าผิดระเบียง  เนื่องจากรองเท้าไม่แห้ง

การประเมินอาจารย์  

มีการเตรียมการเรียนการสอนมาให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม















      





วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 14:10-17:30 ( อังคาร  บ่าย) กลุ่มเรียน 103
คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อ : นางสาวศิรดา สักบุตร (Sirada Sakbud) รหัสประจำตัว 5511200684








การฝึกเพิ่มเติม
*  การอบรมระยะสั้น  สัมมนา
*  สื่อต่างๆ  การใช้สื่อชิ้นงานต่างๆในการใช้ควบคู่กับการเรียนการสอนเพื่อนให้เด็กเกิดความสนใจ

การเข้าใจภาวะปกติ
*  เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง  เด็กส่วนมากจะคล้ายคลึงกัน  เด็กส่วนมากไม่แตกต่างกัน
   แต่จะคล้ายคลึงกัน  
*  ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ  ครูและเด็กควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก 
   ควรสร้างทัศนคติที่ดี  เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่ดี  ในการทำกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์กับครู
*  รู้จักเด็กแต่ละคน ครูควรรรู็จักพฤติกรรมเด็กแต่ละคน  ครูต้องจำเด็กในห้องเรียนให้ได้ เพื่อจะได้รู้
   เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมแบบไหน
*  มองเด็กให้เป็น “เด็ก”  การมองเด็กให้เท่ากัน ครูไม่ควรแบ่งแยกระหว่างเด็กปกติกับเด็กพิเศษ 

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
*  การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
*  วุฒิภาวะ  สภาพแวดล้อง  และความร้อมของเด็ก
*  แรงจูงใจ  การเสริมแรงบวกสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กในการเกิดแรงจูงใจ
*  โอกาส  การเปิดโอกาสให้เด็กพิเศษได้แสดงความสามารถ  ครูไม่ควรไปปิดกั้นเด็ก

การสอนโดยบังเอิญ
*  ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม การเปิดโอกาสให้เด็กตั้งคำถามซักถาม โดยที่ไม่อยู่ในบทเรียนหรือกการ
    เรียนการสอน  คือ  การสอนโดยบังเอิญ
*  เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น 
*  ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก  ครูควรมีความพร้อมตลอดเวลา  สามารถตอบคำถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้ได้
*  ครูต้องมีความสนใจเด็ก  ครูควรสนใจและใส่ใจเด็ก คอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด
*  ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
*  ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก  ครูควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ
*  ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
*  ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
*  ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน  

อุปกรณ์
*  มีลักษณะง่ายๆ 
*  ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง  อุปกรณ์ควรมีลักษณะที่มีประโยชน์ใช้สอยได้
*  เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
*  เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
*  เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
*  กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
*  เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
*  การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
*  คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา




ทัศนของครู

ความยืดยุ่น
การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหกิจ
ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรม  และการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการเสริมแรง
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่

ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป

วิธีการแสดงออกแรงเสริมจากผู้ใหญ่
ตอบสนองด้วยวาจา
การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
สัมผัสทางกาย
ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์

การแนะนำ  หรือบอกบท
ย่อยงาน
ลำดับความยากง่ายของงาน
การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนในการเสริมแรง


สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
สอนจากง่ายไปยาก
ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”ไม่ดุหรือตี

กำหนดเวลา
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ 
หลายๆอย่างรวมกัน
เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
การจับช้อน  

การตัก
การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

การลด  หรือการหยุดแรงเสริม
ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
เอาเด็กออกจากการเล่น




                




การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  มีการคุยกัยบ้างเล็กน้อย  และแกล้งกัน


การประเมินอาจารย์

อาจารย์ตั้งใจสอน  มีการเตรียมการเรียนการสอนมาสอน  การนำเข้าสู่บทเรียน

การประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนเป็นระยะ มีแกล้งเพื่อนบ้างเป็นบางเวลา