วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 14  เดือน  เมษายน  พ.ศ.  2558
เวลาเรียน 14:10-17:30 ( อังคาร  บ่าย) กลุ่มเรียน 103
คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อ : นางสาวศิรดา สักบุตร (Sirada Sakbud) รหัสประจำตัว 5511200684
เก็บภาพวันสงกราน  ที่บ้านกับครอบครัวมาฝากคะ

ทุกๆวัน  สงกรานต์  ลูกหลาน  ก็จะมีการนำเอาอัฐิ  คนเฒ่าคนแก่ที่ล่วงลับไปแล้วมาพรมแป้งหอม  เื่อเป็นศิริมงคน  และเป็นการระลึกถึง


หลังจากนั้นลูกหลานก็จะ  ทำการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียนของประเพณีไทย





พร้อมแล้วคะ




พี่ๆ ที่บ้าน เล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานไม่มีการทะเลาะวิวาท



เห็นเสื้อลายดอกไม่ใช่ใครที่ไหนนะคะ  แม่หมิวเองคะ  เล่นตั้งแต่เช้ายันเย็น
13  -  15  เลยละคะ


"รู้ไว้ใช่ว่า  ใส่บาแบกไปซิ"



สนุกกันแล้วเราก็มารู้จักประวัติวันสงกรานต์กันสักนิดนะคะ




ประวัติความเป็นมาสงกรานต์

    วันสงกรานต์   
 ก็เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งแล้วนะคะ  หลายคนจะเข้าใจวันสงกรานต์แต่เพียงการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  และการเล่นน้ำสงกรานต์เท่านั้น  แต่ในความเป็นจริงประเพณีสงกรานต์นี้ยังมีคติข้อคิดและคุณค่าต่าง ๆ สอดแทรกอยู่มากมาย  เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ในสังคมและสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน  เช่น  ความกตัญญู  ความโอบอ้อมอารี  ความเอื้ออาทรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยใช้  น้ำ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นประเพณีหนึ่งที่เก่าแก่ของไทยที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งโบราณ  คอลัมภ์อยู่อย่างไทยในฉบับนี้จึงขอนำเสนอคุณค่าของประเพณีสงกรานต์ให้ได้รับทราบกันดังนี้นะคะ

    ความเป็นมา
                
                สงกรานต์เป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยสันนิษฐานว่า เป็นประเพณีดั้งเดิมของอินเดีย  ต่อมาได้แพร่ขยายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่  ลาว  เขมร  พม่า  จีน  และไทย  ทั้งนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงให้ต่างไปจากเดิมบ้าง ทั้งการประกอบพิธี  รูปแบบ  และพฤติกรรม  ในประเทศไทย  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ได้มีประเพณีสงกรานต์มาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี  เป็นวันสงกรานต์  เสถียรโกเศศสันนิษฐานว่า  ไทยเรารับประเพณีขึ้นปีใหม่  ในวันที่ ๑๓ เมษายน มาจากอินเดียฝ่ายเหนือ  ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ตรงกับการเปลี่ยนจากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิ   หรือที่เรียกว่าฤดูวสันต์ของอินเดีย  จัดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของเขา  เพราะเป็นช่วงที่อากาศไม่หนาวจัด  ต้นไม้ผลิใบให้ความสดชื่น  บังเอิญช่วงเวลานี้ตรงกับช่วงเวลาที่คนไทยเราในสมัยโบราณว่างจากการทำนาจึงเป็นการเหมาะสมสำหรับคนไทยที่จะฉลองปีใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
        
ทั้งนี้  ตำนานเกี่ยวกับสงกรานต์ยังมีปรากฏในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพน ฯ โดยย่อว่า  เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี  ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้น ๆ นางสงกรานต์มีชื่อดังนี้ 
                
                    ทุงษเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์   
                 โคราดเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ 
                 รากษสเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันอังคาร 
                 มัณฑาเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันพุธ
                 กิริณีเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี  
                 กิมิทาเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์
                 มโหทรเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์     
                
                 นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์หรือท้าวมหาพรหม  มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า  เนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารจึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร  ก่อนจะตัดเศียรท้าวกบิลพรหม ได้เรียกธิดาทั้ง  ๗  ซึ่งเป็นนางฟ้า  บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมารองรับ  เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้ายทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก  ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง  ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ธิดาทั้ง  ๗  จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของ ท้าวกบิลพรหมไว้คนละ ๑  ปี
                
                 เมื่อถึงวันสงกรานต์  คนไทยสมัยก่อนสนใจที่จะรู้ชื่อนางสงกรานต์  พาหนะทรง   เพราะคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติ  คำทำนายต่าง ๆ เป็นการเตรียมพร้อม ในการที่จะต้องเผชิญกับภาวะต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่  ผลิตผลและการทำมาหากินทั่วไป
                
                 วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางราชการ จึงได้เปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่  นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่  ประชาชนก็ยังยึดถือว่า    วันสงกรานต์มีความสำคัญ   สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

อ้างอิง http://www.meemodel.com





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น